หลักสูตร รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
(Master of Political Science Program)

เกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  • ชื่อเต็มภาษาไทย : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
  • ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Political Science
  • ชื่อย่อภาษาไทย : ร.ม.
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.Pol. Sc.

 

ระบบการจัดการศึกษา

๑) แผน ก รวมค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (แผน ก.) ๘๘,๑๐๐ บาท

แบบ ก (๒) ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า ๒๗ หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ ๑๒ หน่วยกิต

๒) แผน ข รวมค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (แผน ข.) ๘๖,๑๐๐ บาท

ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า ๓๓ หน่วยกิต และทำสารนิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ ๖ หน่วยกิต

วัน-เวลา ในการดำเนินการเรียนการสอน

ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๔ ภาคการศึกษาปกติ และไม่เกิน ๑๐ ภาคการศึกษาปกติ โดยแบ่งเป็นภาคการศึกษาดังนี้

ภาคเรียนที่ ๑๑ มิถุนายน – ๓๐ กันยายนเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
ภาคเรีนยที่ ๒๑ พฤศจิกายน – ๒๘ กุมภาพันธ์เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
ภาคการศึกษาฤดูร้อน๑ มีนาคม – ๓๐ เมษายนเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.

เว็บไซต์

ระบบการพิจารณารับรองคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Accredit)>> Click <<

คณาจารย์ผู้บริหารหลักสูตร

ที่ ชื่อ-ฉายา/นามสกุลคุณวุฒิ/สาขาติดต่อ
ผศ.ร.ต.ต.ดร.สมยศ ปัญญามาก
  • ร.ด. (รัฐศาสตร์)
  • ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)
  • ร.บ. (รัฐศาสตร์)
  • น.บ. (นิติศาสตร์)
  • ศ.บ. (ภาษาไทย)
 
พระเมธีวชิรคุณ, รศ.ดร.
  • ปร.ด. (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค)
  • ร.ม. (รัฐศาสตร์)
  • M.A. (Public Administration)
  • ร.บ. (รัฐศาสตร์)
  • ป.ธ.๖
 
ผศ.ดร.สหัทยา วิเศษ
  • ปร.ด. (สังคมศาสตร์)
  • พช.ม. (การพัฒนาชุมชน)
  • ศ.บ. (บ้านและชุมชน)
 

อาจารย์พิเศษ

ที่ ชื่อ-ฉายา/นามสกุลคุณวุฒิ/สาขาติดต่อ
พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร.คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
 
รศ.ดร.สุรพล พรหมกุลคณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
 
ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมืองคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
รศ.ดร.วีระ เลิศสมพรคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยพะเยา
 
ดร.ปิยะวดี โรหิตารชุนคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยพะเยา
 
ผศ.ดร.นาวิน พรมใจสาคณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
 

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา

๑ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ทุกสาขาวิชาจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง โดยได้รับค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ยกเว้นผู้มีประสบการณ์การทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปี นับแต่จบปริญญาตรี
๒ ผู้สำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๙ ประโยคหรือบาลีศึกษา ๙
๓ ไม่เคยถูกลงโทษให้พ้นสภาพการเป็นนิสิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง

 

การรับสมัคร

๑. สมัครด้วยตนเอง สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย อาคารเรียนรวม (พระอุบาลีคุณูปมาจารย์) ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
๒. สมัครผ่านระบบออนไลน์ คลิกลิงค์ –> <<สมัครออนไลน์>>
๓. สอบถามข้อมูลที่ได้ ผศ.ดร.สหัทยา วิเศษ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘-๗๙๐๗-๗๙๖๓, ร.ต.ต.ดร.สมยศ ปัญญามาก เบอร์โทรศัพท์ ๐๘-๙๙๙๘-๙๙๘๗

 

เอกสารประกอบการรับสมัคร

สำเนาใบปริญญาบัตรและใบแสดงผลคะแนนวิชาระดับปริญญาตรีจำนวน ๒ ชุด
สำเนาหนังสือสุทธิ สำหรับพระภิกษุ/สามเณร
หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ สำหรับคฤหถัสถ์
จำนวน ๒ ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน ๒ ฉบับ
รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว สำหรับติดใบสมัครและบัตรประจำตัวผู้สมัครที่ติดรูปถ่ายจำนวน ๔ รูป
หลักฐานอื่น (ถ้ามี) เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุลจำนวน ๒ ชุด
ผลคะแนนภาษาอังกฤษจากสถาบันภาษาที่มหาวิทยาลัยรับรอง ซึ่งมีผลการสอบอายุไม่เกิน ๒ ปี (ถ้ามี) 

สถานที่รับสมัคร

๑. สำนักงานบัณฑิตศึกษา อาคารเรียนรวม (พระอุบาลีคุณูปมาจารย์) ชั้น ๑
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
เลขที่ ๕๖๖ หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ๕๖๐๐๐
๒. สมัครออนไลน์ ผ่านทางลิงค์ –> <<สมัครออนไลน์>>

วันรับสมัครและการคัดเลือกเข้าศึกษา

วัน เดือน ปีรายละเอียด/ขั้นตอน
๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗จำหน่ายใบสมัครและรับสมัคร
๔ มิถุนายน ๒๕๖๗ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ
๘ มิถุนายน ๒๕๖๗สอบข้อเขียน (ป.โท) / (ป.เอก)
๐๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. สอบวัดความรู้เฉพาะสาขา
๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. สอบวัดผลความรู้ภาษาอังกฤษ
๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. สอบวัดความรู้เฉพาะสาขา
(สอบเฉพาะผู้ไมีมีผลสอบภาษาอังกฤษ)
๙ มิถุนายน ๒๕๖๗สอบสัมภาษณ์ (ป.โท) / (ป.เอก)
เวลา ๐๙.๓๐ น. เป็นต้น
๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านและมีสิทธิ์เข้าศึกษา
๑๗-๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗รายงานตัวและลงทะเบียนเรียน
๒๒-๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๗เตรียมความพร้อมก่อนเรียนและพิธีปฐมนิเทศนิสิตใหม่
๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗เปิดเรียน (ภาคปกติ)

ค่าธรรมเนียมในการสมัคร

– ค่าใบสมัคร, ระเบียบการ และค่าธรรมเนียมการสมัคร  ๕๐๐ บาท

การขึ้นทะเบียนและลงทะเบียนเรียน

นิสิตใหม่รายงานตัวและมอบตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต/ลงทะเบียน (พบอาจารย์ที่ปรึกษา) วันที่ ๑๗ – ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗

การปฐมนิเทศนิสิต/ เปิดเรียน

เตรียมความพร้อมก่อนเรียนและพิธีปฐมนิเทศนิสิใหม่ วันที่ ๒๒ – ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๗
เปิดเรียน วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๗

 แนวทางการประกอบอาชีพ

๑. เป็นนักวิจัย นักวิชาการ และอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาที่สัมพันธ์กัน ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
๒. เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านรัฐศาสตร์ และด้านการบริหารองค์กร ด้านการเมืองการปกครอง
๓. เป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรอิสระ พนักงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน
๔. เป็นผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงในหน่วยงาน
๕. เป็นนักบริหารการปกครองด้านรัฐศาสตร์
๖. ประกอบอาชีพอิสระ