หลักสูตร รัฐศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Political Science Program

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
          ชื่อเต็ม (ไทย) :รัฐศาสตรบัณฑิต
          ชื่อย่อ (ไทย) :ร.บ.
          ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :BACHELOR OF POLITICAL SCIENCE
          ชื่อย่อ (อังกฤษ) :B.POL.SC

เกี่ยวกับหลักสูตร

รูปแบบของหลักสูตร

          รูปแบบหลักสูตร ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
          ภาษาที่ใช้การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย มีเอกสารตำราเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบ
          การรับเข้าศึกษารับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
          ความร่วมมือกับสถาบันอื่นเป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
          การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
               มุ่งสร้างบัณฑิตทางรัฐศาสตร์ที่เปี่ยมด้วยความรู้ ควบคู่คุณธรรม มีภาวะผู้นำ ตระหนักถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตยบนฐานของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และการเสียสละรับใช้ท้องถิ่น คณะสงฆ์ ชุมชน สังคม ประเทศ และประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์
               1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการปกครองตามหลักรัฐศาสตร์สมัยใหม่
               2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถใช้ความรู้ทางด้านการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาตนเอง คณะสงฆ์ องค์กร ชุมชน และสังคมโดยรวม
               3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนำความรู้ทางด้านการปกครองไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม

เว็บไซต์

ระบบการพิจารณารับรองคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Accredit)>> Click <<

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่ชื่อ-ฉายา/นามสกุลคุณวุฒิ/สาขาติดต่อ
1พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก, ดร.
  • ปร.ด. (รัฐศาสตร์)
  • ร.ม. (รัฐศาสตร์)
  • พธ.บ. (รัฐศาสตร์)
 
2พระมหากิตติพงษ์ กิตฺติญาโณ, ดร.
  • ร.ด. (รัฐศาสตร์)
  • ร.ม. (รัฐศาสตร์)
  • พธ.บ. (รัฐศาสตร์)
 
3พระครูพิศาลสรกิจ, ผศ.ดร.
  • พธ.บ.(รัฐศาสตร์)
  • M.A.(Public Administration)
  • พธ.ด.(รัฐประศาสนศาสตร์)
 
4ว่าที่ร้อยโท ดร.นิกรณ์ โปธาฤทธิ์
  • ร.ด.  (รัฐศาสตร์)
  • ร.ม. (รัฐศาสตร์)
  • บธ.บ. (การบริหารทรัพยากรมนุษย์)
 
5ดร.พงษ์สนิท คุณนะลา
  • Ph.D. (Political Science)
  • ร.ม. (การเมืองการปกครอง)
  • ศศ.บ. (รัฐศาสตร์)
 

อาจารย์

ที่ชื่อ-ฉายา/นามสกุลคุณวุฒิ/สาขาติดต่อ
1ผศ.คนอง วังฝายแก้ว
  • พธ.บ.(สังคมวิทยา)
  • กศ.ม.(การบริหารการศึกษา)
 
2ผศ.พิศมัย วงศ์จำปา
  • ศศ.บ.(รัฐศาสตร์),
  • ร.ม.(การปกครอง)
 

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา

1.  เป็นพระภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไป
2.  เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือได้รับประกาศนียบัตรอื่น  ที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
3.  เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา หรือ
4.  เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรม
5.  เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา ไม่เคยถูกคัดชื่อออก หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติหรือวินัย

 

การรับสมัคร

วันรับสมัครและการคัดเลือกเข้าศึกษา

               เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 20 พฤษภาคม 2567
               ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบวันที่ 22 พฤษภาคม 2567
ณ ป้ายประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
เว็บไซต์ https://pyo.mcu.ac.th/
               กำหนดการสอบคัดเลือกวันที่ 25 พฤษภาคม 2567
เวลา 09.00 – 12.00 น. สอบวิชาพระพุทธศาสนา,วิชาภาษาอังกฤษ, วิชาความรู้ทั่วไป
เวลา 13.00 – 15.00 น. สอบสัมภาษณ์
               ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาวันที่ 27 พฤษภาคม 2567
ณ ป้ายประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
เว็บไซต์ https://pyo.mcu.ac.th/

เอกสารประกอบการรับสมัคร

พระภิกษุ/สามเณร 
          1. รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน หน้าตรง ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 2 นิ้วจำนวน 2 รูป
          2. สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ชุด
          3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจำนวน 1 ชุด
          4. สำเนาหนังสือสุทธิ หน้า 2-5 และหน้าสังกัดวัดปัจจุบันจำนวน 1 ชุด
          5. สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (รบ.1- ป, รย.2)จำนวน 1 ชุด
          6. สำเนาประกาศนียบัตรเปรียญธรรมจำนวน 1 ชุด
          7. สำเนาประกาศนียบัตรนักธรรม/ธรรมศึกษาจำนวน 1 ชุด
          8. หลักฐานอื่นที่จำเป็น เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล 

 

คฤหัสถ์/บุคคลทั่วไป 
          1. รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน หน้าตรง ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 2 นิ้วจำนวน 2 รูป
          2. สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ชุด
          3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการจำนวน 1 ชุด
          4. สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (รบ.1- ป, รย.2)
(ในกรณีที่เอกสารตัวจริงทางการศึกษาออกให้ไม่ทัน ต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันศึกษานั้นๆ มาแสดง)
จำนวน 1 ชุด
          5. หลักฐานอื่นที่จำเป็น เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุลจำนวน 1 ชุด

สถานที่รับสมัคร

1. สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เลขที่ 566 หมู่ที่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000 โทรศัพท์ 0-5487-0101
2. สมัครออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ มจร วิทยาเขตพะเยา >>สมัครเรียนออนไลน์<<

ค่าธรรมเนียมในการสมัคร

1. ค่าใบสมัครและระเบียบการ
2. ค่าธรรมเนียมการสมัคร

การขึ้นทะเบียนและลงทะเบียนเรียน

นิสิตใหม่รายงานตัวและมอบตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต/ลงทะเบียน (พบอาจารย์ที่ปรึกษา) วันที่ 28 – 31 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป เว้นวันพระ ณ สำนักวิชาการ อาคารหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มจร วิทยาเขตพะเยา

การปฐมนิเทศนิสิต/ เปิดเรียน

เปิดเรียน ภาคปกติ (พระภิกษุ/คฤหัสถ์) วันที่ 4 มิถุนายน 2567
เปิดเรียน ภาคเสาร์อาทิตย์ (รัฐศาสตร์คฤหัสถ์) วันที่ 8 มิถุนายน 2567

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. พนักงานในสังกัดสำนักงานข้าราชการพลเรือน
3. ข้าราชการทหาร และตำรวจ
4. พนักงานฝ่ายบุคคลของภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ
5. นักการเมือง นักวิชาการศึกษา นักปกครอง ผู้จัดการทั่วไป
6. เจ้าของกิจการ ประกอบอาชีพอิสระ
7. นักวิชาการ อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน