หลักสูตร พระพุทธศาสนา
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | |
ชื่อเต็ม (ไทย) : | พุทธศาสตรบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) |
ชื่อย่อ (ไทย) : | พธ.บ. (พระพุทธศาสนา) |
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : | BACHELOR OF ARTS (BUDDHIST STUDIES) |
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : | B.A. (BUDDHIST STUDIES) |
เกี่ยวกับหลักสูตร
รูปแบบ
หลักสูตร ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
หลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยมีการสอนทั้งทฤษฎีและหลักการปฏิบัติด้านพระพุทธศาสนา เสริมสร้างศักยภาพให้นิสิตทั้งพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ สามารถนำความรู้ด้านพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับตนเอง สังคมประเทศชาติและปรับศักยภาพความรู้ความสามารถเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประชาคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดหลักสูตร
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 | |
1. แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2567 | |
2. แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2566 | |
3. แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2565 | |
4. แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2564 |
เว็บไซต์
ระบบการพิจารณารับรองคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Accredit) | >> Click << |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ที่ | ชื่อ-ฉายา/นามสกุล | คุณวุฒิ/สาขา | ติดต่อ | |
---|---|---|---|---|
1 | พระปลัดสุกฤษฏิ์ ปิยสีโล, ดร. |
| Sukid.tha@mcu.ac.th | |
2 | พระครูศรีวรพินิจ, ผศ.ดร. |
| ||
3 | พระราชปริยัติ, รศ.ดร. |
| ||
4 | พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร, ดร. |
| ||
5 | พระครูใบฎีกาเฉลิมพล อริยวํโส, ดร. |
|
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา
1. เป็นพระภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไป
2. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือได้รับประกาศนียบัตรอื่น ที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา หรือ
4. เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรม
5. เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา ไม่เคยถูกคัดชื่อออก หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติหรือวินัย
การรับสมัคร
วันรับสมัครและการคัดเลือกเข้าศึกษา
เปิดรับสมัคร | ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 20 พฤษภาคม 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ | วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 ณ ป้ายประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เว็บไซต์ https://pyo.mcu.ac.th/ |
กำหนดการสอบคัดเลือก | วันที่ 25 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. สอบวิชาพระพุทธศาสนา,วิชาภาษาอังกฤษ, วิชาความรู้ทั่วไป เวลา 13.00 – 15.00 น. สอบสัมภาษณ์ |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ณ ป้ายประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เว็บไซต์ https://pyo.mcu.ac.th/ |
เอกสารประกอบการรับสมัคร
พระภิกษุ/สามเณร | |
1. รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน หน้าตรง ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว | จำนวน 2 รูป |
2. สำเนาทะเบียนบ้าน | จำนวน 1 ชุด |
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน | จำนวน 1 ชุด |
4. สำเนาหนังสือสุทธิ หน้า 2-5 และหน้าสังกัดวัดปัจจุบัน | จำนวน 1 ชุด |
5. สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (รบ.1- ป, รย.2) | จำนวน 1 ชุด |
6. สำเนาประกาศนียบัตรเปรียญธรรม | จำนวน 1 ชุด |
7. สำเนาประกาศนียบัตรนักธรรม/ธรรมศึกษา | จำนวน 1 ชุด |
8. หลักฐานอื่นที่จำเป็น เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล |
คฤหัสถ์/บุคคลทั่วไป | |
1. รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน หน้าตรง ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว | จำนวน 2 รูป |
2. สำเนาทะเบียนบ้าน | จำนวน 1 ชุด |
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ | จำนวน 1 ชุด |
4. สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (รบ.1- ป, รย.2) (ในกรณีที่เอกสารตัวจริงทางการศึกษาออกให้ไม่ทัน ต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันศึกษานั้นๆ มาแสดง) | จำนวน 1 ชุด |
5. หลักฐานอื่นที่จำเป็น เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล | จำนวน 1 ชุด |
สถานที่รับสมัคร
1. สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เลขที่ 566 หมู่ที่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000 โทรศัพท์ 0-5487-0101
2. สมัครออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ มจร วิทยาเขตพะเยา >>สมัครเรียนออนไลน์<<
ค่าธรรมเนียมในการสมัคร
1 ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวน 150 บาท
การขึ้นทะเบียนและลงทะเบียนเรียน
นิสิตใหม่รายงานตัวและมอบตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต/ลงทะเบียน (พบอาจารย์ที่ปรึกษา) วันที่ 28 – 31 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป เว้นวันพระ ณ ห้องสำนักวิชาการ อาคารหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มจร วิทยาเขตพะเยา
การปฐมนิเทศนิสิต/ เปิดเรียน
เปิดเรียน ภาคปกติ (พระภิกษุ/คฤหัสถ์) วันที่ 4 มิถุนายน 2567
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. บุคลากรทางการศึกษา
2. นักวิชาการศาสนา
3. อนุศาสนาจารย์
4. กรมราชทัณฑ์
5. กรมสุขภาพจิต
6. เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมบุคลากร
7. สังคมสงเคราะห์ฟื้นฟูพัฒนาจิตใจ
8. เจ้าหน้าที่กองศาสพิธีการ กระทรวงวัฒนธรรม
9. ครูสอนศีลธรรม