หลักสูตร การสอนภาษาไทย
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | |
ชื่อเต็ม (ไทย) : | ครุศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาไทย) |
ชื่อย่อ (ไทย) : | ค.บ. (การสอนภาษาไทย) |
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : | BACHELOR OF EDUCATION (TEACHING THAI LANGUAGE) |
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : | B.ED. (TEACHING THAI LANGUAGE) |
รูปแบบ
หลักสูตร ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
ปรัชญา
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ให้เป็นผู้มีความรอบรู้และใฝ่รู้ด้านวิชาการ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู และจิตสำนึกในการบริการ และช่วยเหลือบุคคลตามจรรยาบรรณวิชาชีพบนพื้นฐานของคุณธรรม มนุษยธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาไทยให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้
1. มีความรู้ ความเข้าใจ ในภาษาไทย
2. มีทักษะด้านการสอน ด้านการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการสื่อสารเทคโนโลยี
3. สามารถพัฒนารูปแบบการสอน และการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยได้อย่างต่อเนื่อง
4. สามารถนำความรู้ทางภาษาไทยไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เป็นผู้นำด้านการสอนภาษาไทยที่มีคุณธรรม ศีลธรรม และมนุษยธรรม
6. มีจิตอาสาในการให้บริการช่วยเหลือบุคคลตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
7. มีความรับผิดชอบและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อสังคม
เว็บไซต์
ตรวจสอบข้อมูลการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตร (คุรุสภา) | >> Click << |
ระบบการพิจารณารับรองคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Accredit) | >> Click << |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ที่ | ชื่อ-ฉายา/นามสกุล | คุณวุฒิ/สาขา | ติดต่อ | |
---|---|---|---|---|
1 | นางพิงพร ศรีแก้ว |
| ||
2 | พระครูโสภิตชัยวงศ์ |
| ||
3 | นางศิวพร จติกุล |
| ||
4 | นางประพิณท์ สังขา |
| ||
5 | นางกรนิษฐ์ ชายป่า |
|
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา
1. เป็นพระภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไป
2. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือได้รับประกาศนียบัตรอื่น ที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา หรือ
4. เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรม
5. เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา ไม่เคยถูกคัดชื่อออก หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติหรือวินัย
การรับสมัคร
วันรับสมัครและการคัดเลือกเข้าศึกษา
เปิดรับสมัคร | ตั้งแต่บัดนี้ – 20 พฤษภาคม 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ | วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 ณ ป้ายประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เว็บไซต์ https://pyo.mcu.ac.th/ |
กำหนดการสอบคัดเลือก | วันที่ 25 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. สอบวิชาพระพุทธศาสนา,วิชาภาษาอังกฤษ, วิชาความรู้ทั่วไป เวลา 13.00 – 15.00 น. สอบวัดแววความเป็นครู (คณะครุศาสตร์) สอบสัมภาษณ์ |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ณ ป้ายประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เว็บไซต์ https://pyo.mcu.ac.th/ |
เอกสารประกอบการรับสมัคร
พระภิกษุ/สามเณร | |
1. รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน หน้าตรง ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว | จำนวน 2 รูป |
2. สำเนาทะเบียนบ้าน | จำนวน 1 ชุด |
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน | จำนวน 1 ชุด |
4. สำเนาหนังสือสุทธิ หน้า 2-5 และหน้าสังกัดวัดปัจจุบัน | จำนวน 1 ชุด |
5. สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (รบ.1- ป, รย.2) | จำนวน 1 ชุด |
6. สำเนาประกาศนียบัตรเปรียญธรรม | จำนวน 1 ชุด |
7. สำเนาประกาศนียบัตรนักธรรม/ธรรมศึกษา | จำนวน 1 ชุด |
8. หลักฐานอื่นที่จำเป็น เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล |
คฤหัสถ์/บุคคลทั่วไป | |
1. รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน หน้าตรง ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว | จำนวน 2 รูป |
2. สำเนาทะเบียนบ้าน | จำนวน 1 ชุด |
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ | จำนวน 1 ชุด |
4. สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (รบ.1- ป, รย.2) (ในกรณีที่เอกสารตัวจริงทางการศึกษาออกให้ไม่ทัน ต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันศึกษานั้นๆ มาแสดง) | จำนวน 1 ชุด |
5. หลักฐานอื่นที่จำเป็น เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล | จำนวน 1 ชุด |
สถานที่รับสมัคร
1. สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เลขที่ 566 หมู่ที่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000 โทรศัพท์ 0-0487-0101
2. สมัครออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ มจร วิทยาเขตพะเยา >>สมัครเรียนออนไลน์<<
ค่าธรรมเนียมในการสมัคร
1. ค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวน 150 บาท
การขึ้นทะเบียนและลงทะเบียนเรียน
นิสิตใหม่รายงานตัวและมอบตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต/ลงทะเบียน (พบอาจารย์ที่ปรึกษา) วันที่ 28 – 31 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป เว้นวันพระ ณ สำนักวิชาการ อาคารหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มจร วิทยาเขตพะเยา
การปฐมนิเทศนิสิต/ เปิดเรียน
เปิดเรียน ภาคปกติ (พระภิกษุ/คฤหัสถ์) วันที่ 4 มิถุนายน 2567
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. ครูสอนภาษาไทย และวิชาที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน
2. ครูสอนภาษาไทยทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน
3. ครูสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
4. ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวกับภาษาไทย
5. เป็นบุคลากรทางการศึกษา